เด็กดีต้องตั้งจัยเรียน O_O เด็กดีนิดหนึ่งต้องอย่างแนนซ์ +55

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

การกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)


การกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์กู้ยืมเงิน

นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญและสายอาชีพ) นักศึกษาระดับอุดมศึกษา (อนุปริญญา ปริญญาตรี) ทั้งภาคปกติ ภาคพิเศษ รวมทั้งการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา (ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อนุปริญญา ปริญญาตรี)
1) เป็นผู้มีสัญชาติไทย
2) เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
3) เป็นผู้มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถาบันการศึกษา
4) เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถาบันการศึกษาขั้นร้ายแรง หรือไม่เป็น ผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย
5) เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหรือประกาศการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาที่อยู่ในสังกัด ควบคุม หรือกํากับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงหรือส่วนราชการอื่นๆ
6) ไม่เคยเป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดๆ มาก่อน
7่ ไม่เป็นผู้ที่ทํางานประจําในระหว่างการศึกษา
8) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
9) ไม่เป็นหรือเคยได้รับโทษจําคุก โดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
10) ต้องมีอายุในขณะที่ขอกู้ โดยเมื่อนับรวมกับระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี และระยะเวลาผ่อนชําระอีก 15 ปีรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60 ปี
**การพิจารณาคุณสมบัติผู้ขอกู้ สถานศึกษาจะพิจารณาเป็นรายปี ผู้ขอกู้ที่มีคุณสมบัติจะได้กู้หรือไม่ขึ้นอยู่กับวงเงินกู้ยืมที่สถานศึกษาได้รับจัดสรร

ขอบเขตการให้กู้ยืมเงิน (ปีการศึกษา 2552)
ระดับการศึกษา/สาขาวิชา
ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา บาท/ราย/ปี
ค่าครองชีพ บาท/ราย/ปี
รวม บาท/ราย/ปี
1. มัธยมศึกษาตอนปลาย
14,000
12,000
26,000
2. ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
21,000
15,000
36,000
3. ปวท./ปวส.
3.1 พาณิชยกรรมหรือบริหารธุรกิจ ศิลปหัตถกรรมหรือศิลปกรรม เกษตรกรรมหรือเกษตรศาสตร์ คหกรรมหรือคหกรรมศาสตร์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
25,000
24,000
49,000
3.2 ช่างอุตสาหกรรมหรืออุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทัศนศาสตร
30,000
24,000
54,000
4. อนุปริญญา/ปริญญาตรี
4.1 สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
60,000
24,000
84,000
4.2 ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
60,000
24,000
84,000
4.3 วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
70,000
24,000
94,000
4.4 เกษตรศาสตร์
70,000
24,000
94,000
4.5 สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์เภสัชศาสตร์
80,000
24,000
104,000
4.6 แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์
150,000
24,000
174,000

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
1. เงินกู้ยืมที่จ่ายเข้าบัญชีของสถานศึกษา ได้แก้ ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
2. เงินกู้ยืมที่จ่ายเขาบัญชีของนักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมได้แก้ ค่าครองชีพ (ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายส่วนตัว)

ขั้นตอนการขอกู้ยืม กยศ.
นักเรียน นักศึกษา ต้องดำเนินการขอกู้ยืมผ่านระบบ e-Studentloan ที่เว็บไซต์ www.studentloan.or.th โดยให้ปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
1. ลงทะเบียนเพื่อขอรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ โดยรอผลการตรวจสอบทะเบียนราษฎร์ 1 วัน
2. ผู้ที่มีรหัสผ่านแล้ว สามารถเข้าระบบไปกรอกแบบคำขอกู้ยืม
3. รอสถานศึกษาเรียกสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้มีสิทธิ์กู้ยืม กยศ. โดยสถานศึกษาจะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติของผู้กู้ยืมเป็นรายปี ภายในกรอบวงเงินที่จัดสรรให้
4. ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากสถานศึกษาต้องเปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารกรุงไทยสาขาใดก็ได้ เพื่อรับโอนเงินค่าครองชีพ
5. ผู้ได้รับสิทธิกู้ยืมเงินเข้ามาทำสัญญากู้ยืมเงินผ่านระบบ โดยต้องสั่งพิมพ์สัญญาจำนวน 2 ชุด (ต้นฉบับและคู่ฉบับ) ดำเนินการให้ผู้ค้ำประกัน พยาน และผู้แทนของสถานศึกษาร่วมลงนามในสัญญาทั้ง 2 ฉบับ พร้อมจัดเตรียมเอกสารประกอบสัญญาและสัญญาเพื่อส่งให้สถานศึกษา
6. ติดต่อสถานศึกษา เพื่อลงนามและตรวจสอบจำนวนเงินขอกู้ ในแบบลงทะเบียน / แบบยืนยันจำนวนเงินค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพ โดยสถานศึกษาเป็นผู้ยืนยันความสมบูรณ์ครบถ้วนผ่านระบบ
7. นักเรียน นักศึกษา รอรับเงินค่าครองชีพเมื่อเปิดเทอม ทางบัญชีธนาคารกรุงไทย

ผู้ค้ำประกันในสัญญากู้ยืมเงิน
1. บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
2. กรณีบิดามารดาเสียชีวิต ให้ผู้ปกครองที่รับอุปการะเลี้ยงดูลงนามแทน
3. บุคคลที่ประกอบอาชีพมีรายได้น่าเชื่อถือ
4. กรณีคู่สมรสของผู้ค้ำประกันไม่ให้ความยินยอมให้ผู้ค้ำประกันลงนามฝ่ายเดียวได้
5. กรณีไม่มีบุคคลค้ำประกัน ให้ใช้หลักทรัพย์แทน

การลงนามค้ำประกันในสัญญากู้ยืมเงิน

ให้ผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อค้ำประกันในสัญญากู้ยืมต่อหน้าสถานศึกษา หากผู้ค้ำประกันมีที่อยู่ห่างไกลจากสถานศึกษาให้จัดส่งสัญญาให้ผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อค้ำประกันได้ และต้องให้เจ้าพนักงานทะเบียนท้องที่ (อำเภอ) หรือเจ้าพนักงานทะเบียนท้องถิ่น (เทศบาลหรือสำนักงานเขต) ในเขตพื้นที่ที่ผู้ค้ำประกันอาศัยอยู่ ลงนามรับรองลายมือชื่อของผู้ค้ำประกัน

บุคคลผู้รับรองรายได้ในสัญญากู้ยืมเงิน

1. ข้าราชการระดับ 5 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า
2. หัวหน้าสถานศึกษา ที่ผู้ขอกู้ยืมศึกษาอยู่
3. ผู้ปกครองท้องถิ่นระดับผู้ใหญ่บ้านขึ้นไป(ส่วนพนักงานรัฐวิสาหกิจ นายกเทศมนตรีหรือตำแหน่งอื่นที่นอกเหนือจากนี้ไม่สามารถรับรองได้)

เรื่องอื่นที่ควรถือปฏิบัติ
1. ต้องไม่ทําสัญญาเกินขอบเขตวงเงินก้ยืมที่ได้รับ
2. กรณีที่ต้อการแก้ไขแห่งใดในสัญญา สามารถทำได้โดยกลับเข้าสู่ระบบ e-Studentloan และสั่งพิมพ์ใหม่ตามขั้นตอนในการขอกู้ยืมข้างต้น
3. เอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง โดยเจ้าของเอกสารเป็นผู้ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง ได้แก่ ผู้กู้ยืม บิดามารดา ผู้ปกครอง และผู้ค้ำประกัน ผู้รับรองเงินเดือนหรือรายได้ อาจารย์แนะแนวและอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นต้น
4. ผู้กู้ยืมผู้ค้ำประกันผู้แทนโดยชอบธรรม (กรณีผู้กู้ยืมยังไม่บรรลุนิติภาวะ) ต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง
5. ผู้กู้ยืมผู้ค้ำประกัน ผู้แทนโดยชอบธรรม (กรณีที่มิใช่บิดาหรือมารดา) ให้ใช้ทั้ง สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน และสําเนาทะเบียนบ้าน และต้องรับรองสําเนาด้วยตนเองทุกฉบับ ในกรณีที่ผ้ค้ำประกัน ผู้แทนโดยชอบธรรม เป็นบุคคลเดียวกันให้ใช้สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน และสําเนาทะเบียนบ้านเพียงชุดเดียว 6. เอกสารสัญญาจัดทำขึ้น 2 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันโดยผู้กู้ยืมต้องจัดเก็บสัญญาก้ยืมคู่ฉบับไว้กับตนเองจนกว่าจะชำระหนี้ได้เสร็จสิ้นแล้ว
7. ผู้กู้ยืมต้องเก็บรักษาสมุดบัญชีเงินฝากและบัตรเอทีเอ็มไว้กับตนเอง แม้ว่าในภายหลังจะบอกเลิกสัญญาการกู้ยืมก็ตาม และไม่ควรให้ผู้อื่นทราบรหัสบัตรเอทีเอ็มของตน
8. เพื่อสิทธิประโยชน์ในอนาคตของผู้กู้ยืม ต้องแจ้งสถานภาพกับธนาคารกรุงไทย ได้ทราบในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว (ใช้แบบฟอร์ม กยศ. 203) อันได้แก่
- การเปลี่ยนชื่อ
– นามสกุล
- การเปลี่ยนที่อยู่ปัจจุบัน และที่อยู่ตามภูมิลำเนา
- การย้ายสถานศึกษา
- การสำเร็จการศึกษา
- การเลิกการศึกษาหากผู้กู้ยืม ไม่ได้ขอกู้ยืมเงินหรือไม่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินต่อเนื่องในปีการศึกษาปัจจุบัน และไม่รายงานสถานภาพการศึกษาต่อคณะกรรมการกองทุนฯ จะถือว่าผู้กู้ยืมได้สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น